วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
วันที่ 5 มีนาคม 2554 วันพิธี มอบรางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนา
วันที่ 5 มีนาคม 2554 เป็นวันพิธีมอบ รางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนา ครบรอบ 1 ทศวรรษ
วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
มุทิตาด้วย รางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนาแห่งโลก 2554
งานมุทิตา รางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศานาประจำปี 2554
ณ สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี ดอนเมือง กรุงเทพฯ APSW
ตรงกับวันเสาร์ที่ 5 มีนาคม 2554
ณ สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี ดอนเมือง กรุงเทพฯ APSW
ตรงกับวันเสาร์ที่ 5 มีนาคม 2554
วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553
วันสตรีสากล
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก คลังปัญญาไทย
ปัจจุบันเรามักจะเห็นผู้หญิงมีบทบาทในแวดวงต่างๆ ของสังคมมากขึ้น อีกทั้งผู้หญิงสมัยนี้ต่างก็มีความเชื่อมั่นในตัวเอง และกล้าที่จะลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิ หลังจากแรงงานหญิงถูกเอารัดเอาเปรียบมาช้านาน นี่จึงเป็นเหตุผลให้ "วันสตรีสากล" ถือกำเนิดขึ้น วันนี้เราจึงมีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับ "วันสตรีสากล" มาฝากกันค่ะ
การกำหนดวันสตรีสากล
วันสตรีสากล (International Women's Day) ตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี ซึ่ง เป็นวันที่เหล่าสตรีจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเชื้อชาติ ศาสนา อาชีพใด จะร่วมเฉลิมฉลองความเสมอภาคที่ได้รับมา และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียมกันในสังคมอีกด้วย
ความเป็นมาของวันสตรีสากล
ประวัติความเป็นมา ของวันสตรีสากล เกิดขึ้นจากกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง 119 คนต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่ โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1857 (พ.ศ.2400)
จากนั้นในปี ค.ศ.1907 (พ.ศ.2450) กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกาทนไม่ไหวต่อการเอารัด เอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้ต้องทำงานหนักถึงวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใดๆ เป็นผลให้เกิดความเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก
ความอัดอั้นตันใจจึงทำให้ "คลาร่า เซทคิน"นักการเมืองสตรีสายแนวคิดสังคมนิยม ชาวเยอรมันตัดสินใจปลุกระดมเหล่ากรรมกรสตรีด้วยการนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 พร้อมกับเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย
อย่างไรก็ตามแม้การเรียกร้องครั้งนี้ จะไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากมีแรงงานหญิงหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ทำให้สตรีทั่วโลกสนับสนุนการกระทำของ "คลาร่า เซทคิน" และเป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น
ต่อมาในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1908 (พ.ศ.2451) มีแรงงานหญิงกว่า 15,000 คน ร่วมเดินขบวนทั่วเมืองนิวยอร์ค เรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็ก โดยมีคำขวัญการรณรงค์ว่า "ขนมปังกับดอกกุหลาบ" ซึ่งหมายถึงการได้รับอาหารที่พอเพียงพร้อมๆ กับคุณภาพชีวิตที่ดีนั่นเอง
จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 (พ.ศ.2453) ความพยายามของกรรมกรสตรีกลุ่มนี้ก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อมีตัวแทนสตรีจาก 17 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก โดยในที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี ในระบบสาม 8 คือ ยอมให้ลดเวลาทำงานเหลือวันละ 8 ชั่วโมง ให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอีก 8 ชั่วโมง และอีก 8 ชั่วโมงเป็นเวลาพักผ่อน พร้อมกันนี้ยังได้ปรับค่าแรงของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย และยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย
ทั้งนี้ยังได้รับรองข้อเสนอของ "คลาร่า เซทคิน" ด้วยการกำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันสตรีสากล
คลาร่า เซทคิน ผู้ให้กำเนิดวันสตรีสากล
คลาร่า เซทคิน (Clara Zetkin) เดิมชื่อคลาร่า ไอนส์เนอร์ ต่อมาแต่งงานกับเพื่อนนักศึกษา ออพซิป เซทกิ้น มีบุตรด้วยกัน 2 คน คลาร่าเป็นนักการเมืองสตรีแนวคิดสังคมนิยม หรือมาร์กซิสต์ เชื้อสายเยอรมัน เกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ.1857 ที่เมืองไวเดอรูว์ แคว้นแซกโซนี ประเทศเยอรมนี ตลอดช่วงชีวิตของคลาร่า เธอได้ต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิและความเสมอภาคของสตรีอยู่ตลอดเวลา โดยในปี ค.ศ.1889 (พ.ศ.2432) คลาร่า เซทคิน ได้แสดงสุนทรพจน์ในเรื่องปัญหาของสตรีต่อที่ประชุมผู้ก่อตั้งสภาคองเกรสสากล ครั้งที่ 2 ในกรุงปารีส ซึ่งใจความสำคัญคือการเรียกร้องให้สตรีมีสิทธิในการทำงาน ให้มีการคุ้มครองสตรีและเด็ก รวมทั้งยังได้เรียกร้องให้สตรีมีส่วนร่วมในการประชุมระดับชาติและระดับสากล อีกด้วย
ต่อมาในปี 1907 คลาร่า เซทคิน ได้ก่อตั้งกลุ่มนักสังคมนิยมสตรีในเยอรมนี ก่อนที่จะเป็นแกนนำของกลุ่มผู้ใช้แรงงานสตรีโรงงานทอผ้า เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา เดินขบวนประท้วงเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานของสตรี เหลือ 8 ชั่วโมง พร้อมปรับปรุงสวัสดิการในโรงงานจนนำไปสู่การประชุมขององค์กรสตรีในปี ค.ศ.1910 พร้อมกันนี้คลาร่าก็ได้เสนอให้วันที่ 8 มีนาคมของทุกปีเป็นวันสตรีสากล เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์เมื่อวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1857 ที่กลุ่มผู้ใช้แรงงานสตรีโรงงานทอผ้า กรุงนิวยอร์ก สหรัฐฯ รวมตัวกันประท้วงก่อนเกิดโศกนาฏกรรม ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของเธอ
จากนั้นในปี ค.ศ.1914 คลาร่า เซทคินได้ร่วมกับนางโรซา ลักเซมเบอร์ก (Rosa Luxemberg) นักคิดสายแนวคิดสังคมนิยม รณรงค์ต่อต้านสงครามโลกครั้งที่ 1 ในนามของกลุ่มสปาร์ตาซิสต์ มีจุดประสงค์ที่จะต่อต้านรัฐบาลเยอรมันที่ส่งทหารไปร่วมรบ เพราะทำให้ประชาชนมีแต่สูญเสีย ต่อมาในปี ค.ศ.1918 นางเซทคินก็ได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมัน และได้เป็นผู้แทนสภาผู้แทนราษฎรเยอรมันหรือสภาไรซ์สตัก
ในปี ค.ศ.1920-1932 คลาร่า เซทคินเข้าเป็นแกนนำต่อต้านอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ แห่งพรรคนาซี และต่อต้านการใช้อำนาจเผด็จการ โดยเธอได้กล่าวสุนทรพจน์โจมตีอดอล์ฟ ฮิตเลอร์อย่างรุนแรง จนถึงปี ค.ศ.1933 พรรคนาซีเยอรมันเข้ารวบอำนาจได้อย่างเบ็ดเสร็จ และอดอล์ฟ ฮิตเลอร์มีอำนาจในการปกครองอย่างเด็ดขาด ทำให้คลาร่า เซทคิน ต้องยุติบทบาทนักการเมืองสายแนวคิดสังคมนิยม ก่อนถูกรัฐบาลตามล่ากวาดล้างจนต้องลี้ภัยไปใช้ชีวิตที่ประเทศรัสเซียแทน และถึงแก่กรรมในปีเดียวกัน
ความพยายามของคลาร่า เซทคิน ในการเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคให้กับสตรี อีกทั้งยังทำงานเพื่อสตรีมาโดยตลอด ทำให้คลาร่า ได้รับการขนานนามจากกลุ่มองค์กรสตรีนานาชาติว่าเป็น "มารดาแห่งการเคลื่อนไหวสตรีสากล"
ความสำคัญของวันสตรีสากล
ในวันสตรีสากล บรรดาผู้หญิงในหลายๆ ประเทศจากทุกทวีปรวมทั้งองค์กรที่ทำงานด้านผู้หญิงจะรวมตัวกันเพื่อร่วมฉลอง วันสำคัญนี้ และร่วมรำลึกถึงการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิของผู้หญิง อย่างไรก็ตามในหลายๆ ประเทศเห็นความสำคัญของวันสตรีสากลจึงได้กำหนดให้วันที่ 8 มีนาคมเป็นวันหยุดประจำชาติ และวันสตรีสากลก็ถือเป็นอีกวันหนึ่งที่องค์กรสหประชาชาติจะได้ร่วมเฉลิมฉลอง ด้วยด้วย
การจัดกิจกรรมวันสตรีสากลในประเทศต่างๆ
จากการที่กำหนดวัน สตรีสากลขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 ทำให้มีการจัดกิจกรรมสตรีสากลเป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคม ค.ศ.1911 (พ.ศ.2454) โดยมีประชาชนทั้งชายและหญิงมากกว่า 1 ล้าน จากในประเทศออสเตรีย เดนมาร์ก เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์ เข้าชุมนุมเรียกร้องสิทธิในการทำงาน พร้อมขอให้ยุติการแบ่งแยกในการทำงาน จากนั้นในปีถัดมาก็เริ่มมีการจัดกิจกรรมวันสตรีสากลขึ้นในประเทศฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และสวีเดนตามมา
ต่อมาในปี ค.ศ.1913 (พ.ศ.2456) แรงงานหญิงชาวรัสเซียได้ร่วมชุมนุมที่นครเซนต์ปีเตอร์เบอร์ก เพื่อประท้วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่เป็นเหตุให้ต้องสูญเสียทหารรัสเซียกว่า 2 ล้านคน แรงงานหญิงกลุ่มนี้จึงเดินขบวนเรียกร้อง แม้จะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าปราบปรามก็ตาม แต่ก็ยังไม่ลดละความพยายาม จนอีก 4 วันถัดมา พระเจ้าซาร์แห่งรัสเซียถูกโค่นล้มอำนาจ รัฐบาลที่เข้ามาบริหารใหม่จึงให้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งแก่สตรีอย่างเท่า เทียม
ดังจะเห็นว่า กิจกรรมส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในวันสตรีสากลช่วงแรกๆ นั้น มักเป็นไปเพื่อการเรียกร้องสันติภาพ และต่อต้านสงครามที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในทวีปยุโรป จนเมื่อเวลาผ่านไปทวีปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแอฟริกา เอเชีย และละตินอเมริกา ต่างเล็งเห็นความสำคัญของวันสตรีสากล จึงร่วมมือกันผลักดันในเรื่องสิทธิมนุษยชนของสตรีมากขึ้น เพื่อสิทธิที่เท่าเทียมกัน
อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ.1957 (พ.ศ.2500) องค์การสหประชาชาติได้เข้ามามีบทบาทในการเชิญชวนให้ทุกประเทศในโลกกำหนดวันใดวันหนึ่งเป็นวันฉลองแห่งชาติว่าด้วยสิทธิของสตรีและสันติภาพสากล โดยให้พิจารณาตามขนบธรรมเนียมประเพณี และสภาพทางประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศ ซึ่งมีหลายประเทศสนับสนุน และได้กำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม เป็นวันสตรีสากลเช่นกัน
นอกจากนี้ยังมีการ ประกาศเกียรติคุณ ยกย่องสตรีที่ทำคุณประโยชน์ให้กับโลกทั้งที่เสียชีวิตไปแล้ว หรือมีชีวิตอยู่ เช่น เจ้าหญิงไดอาน่า แห่งอังกฤษ, แม่ชีเทเรซา แห่งประเทศอินเดีย, ประธานาธิบดี เมกาวตี แห่งอินโดนีเซีย และนางอองซานซูจี ของพม่าที่พยายามเรียกร้องประชาธิปไตยให้กับประเทศ
ปัจจุบันเรามักจะเห็นผู้หญิงมีบทบาทในแวดวงต่างๆ ของสังคมมากขึ้น อีกทั้งผู้หญิงสมัยนี้ต่างก็มีความเชื่อมั่นในตัวเอง และกล้าที่จะลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิ หลังจากแรงงานหญิงถูกเอารัดเอาเปรียบมาช้านาน นี่จึงเป็นเหตุผลให้ "วันสตรีสากล" ถือกำเนิดขึ้น วันนี้เราจึงมีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับ "วันสตรีสากล" มาฝากกันค่ะ
การกำหนดวันสตรีสากล
วันสตรีสากล (International Women's Day) ตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี ซึ่ง เป็นวันที่เหล่าสตรีจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเชื้อชาติ ศาสนา อาชีพใด จะร่วมเฉลิมฉลองความเสมอภาคที่ได้รับมา และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียมกันในสังคมอีกด้วย
ความเป็นมาของวันสตรีสากล
ประวัติความเป็นมา ของวันสตรีสากล เกิดขึ้นจากกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง 119 คนต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่ โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1857 (พ.ศ.2400)
จากนั้นในปี ค.ศ.1907 (พ.ศ.2450) กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกาทนไม่ไหวต่อการเอารัด เอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้ต้องทำงานหนักถึงวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใดๆ เป็นผลให้เกิดความเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก
ความอัดอั้นตันใจจึงทำให้ "คลาร่า เซทคิน"นักการเมืองสตรีสายแนวคิดสังคมนิยม ชาวเยอรมันตัดสินใจปลุกระดมเหล่ากรรมกรสตรีด้วยการนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 พร้อมกับเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย
อย่างไรก็ตามแม้การเรียกร้องครั้งนี้ จะไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากมีแรงงานหญิงหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ทำให้สตรีทั่วโลกสนับสนุนการกระทำของ "คลาร่า เซทคิน" และเป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น
ต่อมาในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1908 (พ.ศ.2451) มีแรงงานหญิงกว่า 15,000 คน ร่วมเดินขบวนทั่วเมืองนิวยอร์ค เรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็ก โดยมีคำขวัญการรณรงค์ว่า "ขนมปังกับดอกกุหลาบ" ซึ่งหมายถึงการได้รับอาหารที่พอเพียงพร้อมๆ กับคุณภาพชีวิตที่ดีนั่นเอง
จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 (พ.ศ.2453) ความพยายามของกรรมกรสตรีกลุ่มนี้ก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อมีตัวแทนสตรีจาก 17 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก โดยในที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี ในระบบสาม 8 คือ ยอมให้ลดเวลาทำงานเหลือวันละ 8 ชั่วโมง ให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอีก 8 ชั่วโมง และอีก 8 ชั่วโมงเป็นเวลาพักผ่อน พร้อมกันนี้ยังได้ปรับค่าแรงของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย และยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย
ทั้งนี้ยังได้รับรองข้อเสนอของ "คลาร่า เซทคิน" ด้วยการกำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันสตรีสากล
คลาร่า เซทคิน ผู้ให้กำเนิดวันสตรีสากล
คลาร่า เซทคิน (Clara Zetkin) เดิมชื่อคลาร่า ไอนส์เนอร์ ต่อมาแต่งงานกับเพื่อนนักศึกษา ออพซิป เซทกิ้น มีบุตรด้วยกัน 2 คน คลาร่าเป็นนักการเมืองสตรีแนวคิดสังคมนิยม หรือมาร์กซิสต์ เชื้อสายเยอรมัน เกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ.1857 ที่เมืองไวเดอรูว์ แคว้นแซกโซนี ประเทศเยอรมนี ตลอดช่วงชีวิตของคลาร่า เธอได้ต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิและความเสมอภาคของสตรีอยู่ตลอดเวลา โดยในปี ค.ศ.1889 (พ.ศ.2432) คลาร่า เซทคิน ได้แสดงสุนทรพจน์ในเรื่องปัญหาของสตรีต่อที่ประชุมผู้ก่อตั้งสภาคองเกรสสากล ครั้งที่ 2 ในกรุงปารีส ซึ่งใจความสำคัญคือการเรียกร้องให้สตรีมีสิทธิในการทำงาน ให้มีการคุ้มครองสตรีและเด็ก รวมทั้งยังได้เรียกร้องให้สตรีมีส่วนร่วมในการประชุมระดับชาติและระดับสากล อีกด้วย
ต่อมาในปี 1907 คลาร่า เซทคิน ได้ก่อตั้งกลุ่มนักสังคมนิยมสตรีในเยอรมนี ก่อนที่จะเป็นแกนนำของกลุ่มผู้ใช้แรงงานสตรีโรงงานทอผ้า เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา เดินขบวนประท้วงเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานของสตรี เหลือ 8 ชั่วโมง พร้อมปรับปรุงสวัสดิการในโรงงานจนนำไปสู่การประชุมขององค์กรสตรีในปี ค.ศ.1910 พร้อมกันนี้คลาร่าก็ได้เสนอให้วันที่ 8 มีนาคมของทุกปีเป็นวันสตรีสากล เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์เมื่อวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1857 ที่กลุ่มผู้ใช้แรงงานสตรีโรงงานทอผ้า กรุงนิวยอร์ก สหรัฐฯ รวมตัวกันประท้วงก่อนเกิดโศกนาฏกรรม ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของเธอ
จากนั้นในปี ค.ศ.1914 คลาร่า เซทคินได้ร่วมกับนางโรซา ลักเซมเบอร์ก (Rosa Luxemberg) นักคิดสายแนวคิดสังคมนิยม รณรงค์ต่อต้านสงครามโลกครั้งที่ 1 ในนามของกลุ่มสปาร์ตาซิสต์ มีจุดประสงค์ที่จะต่อต้านรัฐบาลเยอรมันที่ส่งทหารไปร่วมรบ เพราะทำให้ประชาชนมีแต่สูญเสีย ต่อมาในปี ค.ศ.1918 นางเซทคินก็ได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมัน และได้เป็นผู้แทนสภาผู้แทนราษฎรเยอรมันหรือสภาไรซ์สตัก
ในปี ค.ศ.1920-1932 คลาร่า เซทคินเข้าเป็นแกนนำต่อต้านอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ แห่งพรรคนาซี และต่อต้านการใช้อำนาจเผด็จการ โดยเธอได้กล่าวสุนทรพจน์โจมตีอดอล์ฟ ฮิตเลอร์อย่างรุนแรง จนถึงปี ค.ศ.1933 พรรคนาซีเยอรมันเข้ารวบอำนาจได้อย่างเบ็ดเสร็จ และอดอล์ฟ ฮิตเลอร์มีอำนาจในการปกครองอย่างเด็ดขาด ทำให้คลาร่า เซทคิน ต้องยุติบทบาทนักการเมืองสายแนวคิดสังคมนิยม ก่อนถูกรัฐบาลตามล่ากวาดล้างจนต้องลี้ภัยไปใช้ชีวิตที่ประเทศรัสเซียแทน และถึงแก่กรรมในปีเดียวกัน
ความพยายามของคลาร่า เซทคิน ในการเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคให้กับสตรี อีกทั้งยังทำงานเพื่อสตรีมาโดยตลอด ทำให้คลาร่า ได้รับการขนานนามจากกลุ่มองค์กรสตรีนานาชาติว่าเป็น "มารดาแห่งการเคลื่อนไหวสตรีสากล"
ความสำคัญของวันสตรีสากล
ในวันสตรีสากล บรรดาผู้หญิงในหลายๆ ประเทศจากทุกทวีปรวมทั้งองค์กรที่ทำงานด้านผู้หญิงจะรวมตัวกันเพื่อร่วมฉลอง วันสำคัญนี้ และร่วมรำลึกถึงการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิของผู้หญิง อย่างไรก็ตามในหลายๆ ประเทศเห็นความสำคัญของวันสตรีสากลจึงได้กำหนดให้วันที่ 8 มีนาคมเป็นวันหยุดประจำชาติ และวันสตรีสากลก็ถือเป็นอีกวันหนึ่งที่องค์กรสหประชาชาติจะได้ร่วมเฉลิมฉลอง ด้วยด้วย
การจัดกิจกรรมวันสตรีสากลในประเทศต่างๆ
จากการที่กำหนดวัน สตรีสากลขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 ทำให้มีการจัดกิจกรรมสตรีสากลเป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคม ค.ศ.1911 (พ.ศ.2454) โดยมีประชาชนทั้งชายและหญิงมากกว่า 1 ล้าน จากในประเทศออสเตรีย เดนมาร์ก เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์ เข้าชุมนุมเรียกร้องสิทธิในการทำงาน พร้อมขอให้ยุติการแบ่งแยกในการทำงาน จากนั้นในปีถัดมาก็เริ่มมีการจัดกิจกรรมวันสตรีสากลขึ้นในประเทศฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และสวีเดนตามมา
ต่อมาในปี ค.ศ.1913 (พ.ศ.2456) แรงงานหญิงชาวรัสเซียได้ร่วมชุมนุมที่นครเซนต์ปีเตอร์เบอร์ก เพื่อประท้วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่เป็นเหตุให้ต้องสูญเสียทหารรัสเซียกว่า 2 ล้านคน แรงงานหญิงกลุ่มนี้จึงเดินขบวนเรียกร้อง แม้จะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าปราบปรามก็ตาม แต่ก็ยังไม่ลดละความพยายาม จนอีก 4 วันถัดมา พระเจ้าซาร์แห่งรัสเซียถูกโค่นล้มอำนาจ รัฐบาลที่เข้ามาบริหารใหม่จึงให้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งแก่สตรีอย่างเท่า เทียม
ดังจะเห็นว่า กิจกรรมส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในวันสตรีสากลช่วงแรกๆ นั้น มักเป็นไปเพื่อการเรียกร้องสันติภาพ และต่อต้านสงครามที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในทวีปยุโรป จนเมื่อเวลาผ่านไปทวีปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแอฟริกา เอเชีย และละตินอเมริกา ต่างเล็งเห็นความสำคัญของวันสตรีสากล จึงร่วมมือกันผลักดันในเรื่องสิทธิมนุษยชนของสตรีมากขึ้น เพื่อสิทธิที่เท่าเทียมกัน
อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ.1957 (พ.ศ.2500) องค์การสหประชาชาติได้เข้ามามีบทบาทในการเชิญชวนให้ทุกประเทศในโลกกำหนดวันใดวันหนึ่งเป็นวันฉลองแห่งชาติว่าด้วยสิทธิของสตรีและสันติภาพสากล โดยให้พิจารณาตามขนบธรรมเนียมประเพณี และสภาพทางประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศ ซึ่งมีหลายประเทศสนับสนุน และได้กำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม เป็นวันสตรีสากลเช่นกัน
นอกจากนี้ยังมีการ ประกาศเกียรติคุณ ยกย่องสตรีที่ทำคุณประโยชน์ให้กับโลกทั้งที่เสียชีวิตไปแล้ว หรือมีชีวิตอยู่ เช่น เจ้าหญิงไดอาน่า แห่งอังกฤษ, แม่ชีเทเรซา แห่งประเทศอินเดีย, ประธานาธิบดี เมกาวตี แห่งอินโดนีเซีย และนางอองซานซูจี ของพม่าที่พยายามเรียกร้องประชาธิปไตยให้กับประเทศ
วันสตรีไทย
โครงการวันสตรีไทย 2552
* โครงการเชิดชูเกียรติสตรีไทยดีเด่น
* โครงการเชิดชูเกียรติเยาวสตรีไทยดีเด่น
ประการแรก พึงทำหน้าที่ของ แม่ ให้สมบูรณ์ โดยทำให้ครอบครัวบังเกิดความรักและความอบอุ่น มีความเข้าใจและไว้วางใจซึ่งกันและกัน แม่ควรเป็นที่ยึดมั่นของลูก เมื่อเกิดปัญหาก็ช่วยแก้ไขด้วยเมตตา และสอนให้รู้จักดำเนินชีวิตในทางที่ถูกที่ควร ถ้าสตรีไทยทำเช่นนี้ได้ เด็กไทยก็จะเติบโตเป็นพลเมืองดีและช่วยป้องกันปัญหาร้ายแรงต่างๆ ในสังคมได้
ประการที่สอง พึ่งทำหน้าที่ของ แม่บ้าน ให้ดี โดยทำให้บ้านมีความน่าอยู่ เป็นที่พักพิงอันอบอุ่นของสมาชิกในครอบครัว ช่วยเก็บออมและเพิ่มพูนทรัพย์สินในครอบครัว รวมทั้งให้ความช่วยเหลือแก่ชุมชนรอบข้างตามสมควร
ประการที่สาม พึง รักษาเอกลักษณ์ความเป็นสตรีไทย ผู้มีความนุ่มนวล อ่อนโยน สุภาพ เมตตา และยิ้มแย้มแจ่มใส รวมทั้งธำรงรักษาศิลปะวัฒนธรรมไทยอันละเอียดประณีต ให้เป็นที่ชื่นชมของนานาชาติตลอดไป
ประการที่สี่ พึง ฝึกฝนตนเอง ให้มีความรู้ความสามารถยิ่งขึ้น ขยันและอดทน มีความประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย และรักษาความสามัคคีในหมู่คณะไว้ให้มั่นคง
หากสตรีไทยทุกคนตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ทั้ง ๔ ประการนี้ได้ ก็จะส่งผลให้ครอบครัวไทย สังคมไทย และประเทศชาติมีความสุข ความเจริญนำไปสู่การพัฒนาด้านอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง และสตรีไทยจักเป็นที่ยกย่องชื่นชมของสังคมโลกตลอดไป
สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ จึงเห็นสมควรจัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมพระเกียรติ โดยจัดทำโครงการ “สตรีไทยดีเด่น” เพื่อสรรหาสตรีไทยผู้มีคุณสมบัติดังพระราชดำรัส ทั้งยังเป็นผู้ที่มีความสามารถโดดเด่น สร้างสรรค์คุณประโยชน์ด้านต่างๆ แก่สังคม ประเทศชาติ สมควรแก่การยกย่อง เชิดชูเกียรติ ประกาศเกียรติคุณของสตรีไทยให้ประจักษ์โดยทั่วกัน ปัจจุบันมีจำนวน ๓๓๓ คน และเยาวสตรีไทยดีเด่น ๑๐๐ คน โดยในปีนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงเป็นประธานเปิดงานวันสตรีไทย ปี ๒๕๕๒ ทอดพระเนตรนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ และพระราชทานโล่เชิดชูเกียรติสตรีไทยดีเด่น วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จงาน “สาธารณสุขทำดีเพื่อแม่” และทอดพระเนตรนิทรรศการ “นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต”โดยศิลปินสตรีไทย และวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๒ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จทรงเป็นประธานในพิธี “เชิดชูเกียรติเยาวสตรีไทยดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๒” และประทานโล่เยาวสตรีไทยดีเด่น การจัดงานในปี ๒๕๕๒ นับเป็นปีที่ ๗ มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมงาน ๘๕ หน่วยงาน รวมเครือข่ายอีกนับร้อยทั่วประเทศ มีกรอบแนวคิด “พลังสร้างสรรค์ สู่อนาคตที่ยั่งยืน”
* โครงการเชิดชูเกียรติสตรีไทยดีเด่น
* โครงการเชิดชูเกียรติเยาวสตรีไทยดีเด่น
วันสตรีไทย
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้วันที่ ๑ สิงหาคม เป็น”วันสตรีไทย” และเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงเปิดวันสตรีไทย ณ อาคารใหม่สวนอัมพร พระราชวังดุสิต พร้อมทั้งมีพระราชดำรัสเนื่องในวันสตรีไทยว่า สตรีไทยมีหน้าที่สำคัญเบื้องต้น ๔ ประการ คือประการแรก พึงทำหน้าที่ของ แม่ ให้สมบูรณ์ โดยทำให้ครอบครัวบังเกิดความรักและความอบอุ่น มีความเข้าใจและไว้วางใจซึ่งกันและกัน แม่ควรเป็นที่ยึดมั่นของลูก เมื่อเกิดปัญหาก็ช่วยแก้ไขด้วยเมตตา และสอนให้รู้จักดำเนินชีวิตในทางที่ถูกที่ควร ถ้าสตรีไทยทำเช่นนี้ได้ เด็กไทยก็จะเติบโตเป็นพลเมืองดีและช่วยป้องกันปัญหาร้ายแรงต่างๆ ในสังคมได้
ประการที่สอง พึ่งทำหน้าที่ของ แม่บ้าน ให้ดี โดยทำให้บ้านมีความน่าอยู่ เป็นที่พักพิงอันอบอุ่นของสมาชิกในครอบครัว ช่วยเก็บออมและเพิ่มพูนทรัพย์สินในครอบครัว รวมทั้งให้ความช่วยเหลือแก่ชุมชนรอบข้างตามสมควร
ประการที่สาม พึง รักษาเอกลักษณ์ความเป็นสตรีไทย ผู้มีความนุ่มนวล อ่อนโยน สุภาพ เมตตา และยิ้มแย้มแจ่มใส รวมทั้งธำรงรักษาศิลปะวัฒนธรรมไทยอันละเอียดประณีต ให้เป็นที่ชื่นชมของนานาชาติตลอดไป
ประการที่สี่ พึง ฝึกฝนตนเอง ให้มีความรู้ความสามารถยิ่งขึ้น ขยันและอดทน มีความประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย และรักษาความสามัคคีในหมู่คณะไว้ให้มั่นคง
หากสตรีไทยทุกคนตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ทั้ง ๔ ประการนี้ได้ ก็จะส่งผลให้ครอบครัวไทย สังคมไทย และประเทศชาติมีความสุข ความเจริญนำไปสู่การพัฒนาด้านอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง และสตรีไทยจักเป็นที่ยกย่องชื่นชมของสังคมโลกตลอดไป
สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ จึงเห็นสมควรจัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมพระเกียรติ โดยจัดทำโครงการ “สตรีไทยดีเด่น” เพื่อสรรหาสตรีไทยผู้มีคุณสมบัติดังพระราชดำรัส ทั้งยังเป็นผู้ที่มีความสามารถโดดเด่น สร้างสรรค์คุณประโยชน์ด้านต่างๆ แก่สังคม ประเทศชาติ สมควรแก่การยกย่อง เชิดชูเกียรติ ประกาศเกียรติคุณของสตรีไทยให้ประจักษ์โดยทั่วกัน ปัจจุบันมีจำนวน ๓๓๓ คน และเยาวสตรีไทยดีเด่น ๑๐๐ คน โดยในปีนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงเป็นประธานเปิดงานวันสตรีไทย ปี ๒๕๕๒ ทอดพระเนตรนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ และพระราชทานโล่เชิดชูเกียรติสตรีไทยดีเด่น วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จงาน “สาธารณสุขทำดีเพื่อแม่” และทอดพระเนตรนิทรรศการ “นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต”โดยศิลปินสตรีไทย และวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๒ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จทรงเป็นประธานในพิธี “เชิดชูเกียรติเยาวสตรีไทยดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๒” และประทานโล่เยาวสตรีไทยดีเด่น การจัดงานในปี ๒๕๕๒ นับเป็นปีที่ ๗ มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมงาน ๘๕ หน่วยงาน รวมเครือข่ายอีกนับร้อยทั่วประเทศ มีกรอบแนวคิด “พลังสร้างสรรค์ สู่อนาคตที่ยั่งยืน”
วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553
The objectives of the Award
The objectives of the Award
1. Mobilize public opinion and international action to promote the role and status of Theravada Bhikkhunis in southeast Asia, thereby directing assistance to disadvantaged groups of women and girls.
2. Uplift the good deeds of Buddhist women so that others may know.
3. Provide good role models for society.
4. Encourage the award recipients.
5. Promote sorority in the overcoming of obstacles.
6. Promote information of the award recipient’s role in developing her own life, that of her community, her nation and the world.
7. Training, research and the collection of sex-segregated data on the role and status of ordained women in Buddhism.
8. Encourage a movement which uplifts the role and status of Buddhist women within the Buddhist faith.
9. Promote telling the herstory of women in Buddhism.
10. Promote a network of accomplished Buddhist women, ordained and lay.
...International Women's Day is an occasion marked by women’s groups around the world. This date is also commemorated at the United Nations and is designated in many countries as a national holiday...
2. Uplift the good deeds of Buddhist women so that others may know.
3. Provide good role models for society.
4. Encourage the award recipients.
5. Promote sorority in the overcoming of obstacles.
6. Promote information of the award recipient’s role in developing her own life, that of her community, her nation and the world.
7. Training, research and the collection of sex-segregated data on the role and status of ordained women in Buddhism.
8. Encourage a movement which uplifts the role and status of Buddhist women within the Buddhist faith.
9. Promote telling the herstory of women in Buddhism.
10. Promote a network of accomplished Buddhist women, ordained and lay.
...International Women's Day is an occasion marked by women’s groups around the world. This date is also commemorated at the United Nations and is designated in many countries as a national holiday...
วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553
owba story
•創辦人李博士比丘尼和Rattanavali博士比丘尼、大會主席修懿法師、尊敬的法師們、各位貴賓,大家好:
•Co-founders bhiksunis Dr. Lee and Dr. Rattanavali, President venerable Shiou I, respective venerables, distinguished guests, scholars, ladies and gentlemen
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)